วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

สารตกค้างบนผิว ภัยแฝงใกล้ตัว

มือไม้สั่นขึ้นมาทันที เมื่อได้ยินคำว่าสารตกค้างบนผิวพรรณ มีด้วยหรอ !!! ... แล้วอะไรบ้างที่มีสารตกค้างบนผิว Genting Crown สบู่ ยาสระผม ครีมบำรุงผิว โลชั่น น้ำหอม หรือครื่องสำอาง ...นี่ขนาดเราดูแลเลือกและคัดสรรสิ่งที่ดีสำหรับตัวเราเองและครอบครัวแล้วนั้น คงยังไม่พอสินะ วันนี้เราต้องมาเรียนรู้และช่วยกันแชร์ ว่า 4 สารตกค้างจากผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลผิวพรรณ มีอะไรบ้าง?
การดูแลผิวพรรณ หรือสุขภาพของผิวเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากความคุ้นเคย เน้นเพียงแต่ราคาหรือสินค้าโปรโมชั่นโดยไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียดจากฉลากข้างผลิตภัณฑ์ว่ามีส่วนผสมจากอะไรบ้าง อาจได้รับเจ้าสารเคมีบางอย่างโดยไม่รู้ตัว แต่สิ่งเหล่านี้เราสามารถป้องกันได้ถ้าเราศึกษา ใส่ใจและเลือกใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่
สารตกค้างอันตราย ที่ควรจำไว้ หากใช้ในปริมาณที่เกินจำเป็น
1. Triclosan ไตรโคลซาน : พบมากในครีมอาบน้ำ ยาสีฟัน โรลออน และน้ำยาล้างมือ เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เจ้าไตรโคลซาน มีหน้าที่ช่วยต้านแบคทีเรียให้กับร่างกายของเรา ป้องกันเหงือกอักเสบ หากใช้ปริมาณที่เกินกำหนดอาจทำให้เกิดความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์ การหดตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติ มีผลกับการทำงานของหัวใจ และการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีไตรโคลซานเป็นระยะเวลานาน จะมีความเสี่ยงต่อเชื้อแบคทีเรียดื้อยาอีกด้วย การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ควรอ่านฉลากทุกครั้ง เพื่อดูส่วนผสมของสารที่อาจเกิดอันตราย  ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ควรมีค่าความเป็นกรดด่างใกล้เคียงผิวหนัง มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ และวันเดือนปีที่ผลิต รวมถึงวันหมดอายุที่ชัดเจน หากเป็นผลิตภัณฑ์ของเด็ก ควรผ่านการรับรองว่าปลอดภัยสำหรับเด็กและทารก ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีหรือสารกันเสียที่อาจเป็นอันตรายต่อผิวเด็ก
2. Methylisothiazolinone (เมทิลไอโซไทอะโซลิโนน) หรือ MIT เป็นสารกันเสีย ที่มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ เป็นส่วนผสมในแชมพู ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ครีมอาบน้ำ เครื่องสำอาง และผ้าเช็ดทำความสะอาดสำหรับเด็ก MIT เป็นสารที่อาจทำให้เกิดการระคายเคือง หากเกิดอาการแพ้จะทำให้ผิวอักเสบและมีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง สำหรับในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการควบคุมให้ใช้ MIT ในความเข้มข้นที่กำหนดเท่านั้น และอนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วต้องล้างออกเท่านั้นด้วย
สารตกค้างบนผิวพรรณ ภัยแฝงใกล้ตัว thaihealth
3. Sodium Lauryl Sulfate (โซเดียมลอริลซัลเฟต) หรือ SLS เป็นสารที่ทำให้เกิดฟอง ซึ่งมีอยู่ใน สบู่ แชมพู ครีมล้างหน้า และยาสีฟัน ช่วยให้สิ่งสกปรกและคราบไมันหลุดออกได้ง่าย หากในผลิตภัณฑ์มีสาร SLS มากเกินไป อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนังบริเวณที่สัมผัส จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดสิว และถ้าล้างผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสาร SLS ออกช้า ไม่ล้างออก หรือล้างออกไม่หมด อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา แต่ยังไม่มีผลวิจัยออกมาว่าสารดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงและก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ตามที่เป็นกระแส แชร์ในโลกโซเชียล
4. Parabens สารกลุ่มพาราเบนเป็นสารกันเสีย ที่พบมากในผลิตภัณฑ์อาบน้ำ แชมพู ครีมนวดผม ครีมบำรุงผิวหน้า ครีมโกนหนวด น้ำยาดัดผมถาวร ยาสีฟัน และยาระงับกลิ่นกาย มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ยีสต์ และแบคทีเรีย ป้องกันไม่ให้เครื่องสำอางเสียง่าย เคยตรวจพบสารพาราเบนในเซลล์มะเร็งจากผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมสารพาราเบนจะก่อให้เกิดมะเร็งเต้านม แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมสารพาราเบนจะก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมหรือไม่ ในประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขยังรับรองให้ใช้สารในกลุ่มพาราเบนได้ 4 ชนิดในปริมาณที่กฎหมายกำหนด ต่ประเทศในกลุ่ม EU ได้ประกาศห้ามใช้พาราเบนแล้ว Genting Club เนื่องจากมีข้อถกเถียงกันถึงความปลอดภัยของพาราเบน ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์หลายชนิดเลือกใช้สารกันเสียชนิดอื่นที่ปลอดภัยกว่าแทน โดยหลีกเลี่ยงการใช้พาราเบน หรือ Parabens-free
รู้อย่างนี้แล้ว หันมาใส่ใจอ่านฉลากข้างผลิตภัณฑ์ หรือการหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนจะตัดสินใจซื้อ หรือเลือกใช้ ครีมอาบน้ำ สบู่ แชมพู และเครื่องสำอางต่างๆ คงจะดีกว่าต้องมารักษาในภายหลัง ผิวหนังของเราก็เปรียบเสมือนด่านรบด่านแรกที่ค่อยปกป้องเราจากฝุ่นละออง และสารเคมีต่างๆ แต่หากเราไม่ดูแลอย่างถูกวิธี เจ้าพวกสารตกค้างเหล่านี้ อาจเป็นหนอนบ่อนไส้ทำร้ายตัวเราและครอบครัวได้เช่นกัน.

สุขภาพผิว ในผู้สูงอายุ

สุขภาพผิว ในผู้สูงอายุ thaihealth

อีกส่วนสำคัญของร่างกาย "ผิวหนัง" เมื่อพบความผิดปกติเกิดขึ้นอย่ามองข้าม เพราะอาจลุกลามนำไปสู่ "โรค" และความรุนแรงที่ไม่คาดคิด
          อายุที่เพิ่มขึ้น ระบบอวัยวะต่างๆ Princess Crown ของร่างกายย่อมมีความเสื่อมถอยลง เช่นเดียวกับ "ผิวหนัง" หากไม่ได้รับการดูแลนับแต่เบื้องต้นอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ไม่น้อย โดยเฉพาะกับอาการ "ผิวแห้งคัน" ที่มักพบในผู้สูงอายุ
          พท.นันทวุฒิ ศิริพันธ์ แพทย์แผนไทยผู้ดูแลคลินิกโรคผิวหนังและสะเก็ดเงิน โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน(ยศเส) กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข  ให้ความรู้โรคผิวหนังและการดูแลสุขภาพผิว ป้องกันก่อนต้องเผชิญกับการเจ็บป่วยว่า อายุที่เพิ่มขึ้นนับแต่ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นผลมาจากการก้าวเข้าสู่ภาวะวัยทอง มักพบปัญหาดังกล่าว ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพผิวที่พบบ่อยจึงมีทั้งปัญหา ผิวแห้ง แตกกร้าน ผิวหนังบาง หรือมีอาการคันบริเวณผิวหนัง
          ทั้งนี้ในชั้นผิวหนังประกอบไปด้วยชั้นหนังแท้ ชั้นหนังกำพร้าและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ซึ่งในชั้นหนังกำพร้าหรือผิวหนังชั้นบนสุด บริเวณนี้มีเซลล์บาง ๆ ที่ทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันจากสิ่งเร้าภายนอก แต่ละเซลล์ก็จะมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ระหว่างเซลล์ รวมไปถึงภายในเซลล์เอง เมื่อผู้สูงอายุฮอร์โมนลดน้อยลง ชั้นผิวหนังเสื่อมถอยลง น้ำในเซลล์ลดลงก็จะส่งผลต่อผิวหนัง ทำให้ผิวแห้งกร้านได้มากขึ้น  อีกทั้งในชั้นผิวหนังแท้ จะมีต่อมไขมันที่จะสร้างไขมันออกมาเคลือบผิว เวลาที่ผิวเผชิญกับสภาพอากาศที่มีความเปลี่ยนแปลง อย่างเช่น อากาศหนาวเย็น หากไม่มีไขมันเคลือบไว้ก็จะสูญเสียน้ำไปได้โดยง่าย
          สำหรับ อาการคันตามผิวหนัง คุณหมอนันทวุฒิให้ความรู้อีกว่า อาการคันดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่ทั้งนี้ลุกลามกลายไปเป็นเรื่องใหญ่ได้ หากไม่ได้รับการดูแล ทั้งนี้ผิวที่แห้งมาก ๆ มักจะมีอาการคันร่วมด้วย และเมื่อเกาจะเกิดการระคายเคืองเพิ่มขึ้น หากเกามากขึ้น ผิวหนังถลอกเกิดเป็นแผลเปิด มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคได้ง่าย และอาจลุกลามไปสู่โรคอื่น ๆ ที่ร้ายแรง ยิ่งผู้สูงอายุที่ไม่ได้ดูแลผิวให้มีความชุ่มชื้นแต่เบื้องต้น เมื่อผิวแห้งมาก ๆ ก็ส่งผลให้เกิดอาการคันได้ง่ายขึ้น
          "อาการคันที่เกิดขึ้นจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องหาสาเหตุที่แท้จริงว่ามีผลมาจากสาเหตุใด ทั้งนี้อาการคันหรือผิวแห้งอาจ เกิดจากโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย อย่างเช่น ปัญหาของการทำงานของไต การทำงานของต่อมไทรอยด์ หรือเป็นโรคเบาหวาน ฯลฯ ก็มักมีอาการคันร่วมด้วย หรือแม้แต่อาการแพ้ยา  การทานอาหารบางประเภทก็อาจมีอาการแพ้ คันขึ้นมาได้เช่นกัน"
          อย่างไรก็ตาม กรณีที่ผู้สูงอายุมีฮอร์โมน เปลี่ยนแปลงมักมีอาการคันไปทั่วทั้งตัว แต่หากลักษณะการคันเป็นเฉพาะที่ เฉพาะจุด คันส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายหรือมีอาการปวดแสบร่วมด้วย ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง โดยผู้สูงอายุหมั่นสังเกตความผิดปกติของตนเองในเบื้องต้น !
          อาการคัน แม้ภาพรวมดูไม่อันตราย แต่แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อจิตใจไม่น้อย ทั้งทำให้ขาดความมั่นใจและส่งผลต่อบุคลิกภาพ
          การป้องกัน ดูแลสุขภาพผิวก่อนลุกลามจึงควรเริ่มขึ้นก่อนที่จะถึงวัยสูงอายุ ทั้งนี้การดูแลสุขภาพดีนับแต่เนิ่น ๆ จะส่งผลที่ดีในช่วงที่มีอายุมากขึ้น  อย่าง กรณีที่มีผิวแห้งกร้าน ต้องย้อนกลับไปที่พฤติกรรมตัวเราเป็นเช่นไร เพื่อการแก้ไข ปรับเปลี่ยน อย่างเช่น การอาบน้ำ ในหนึ่งวันอาบน้ำหลายครั้ง หรือ กรณีผู้สูงอายุที่มีอาการหลงลืม อาจทำให้อาบน้ำบ่อยขึ้น ก็ส่งผลทำให้ผิวแห้งได้ง่าย การใช้สบู่ ครีมบำรุงผิว ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพผิว เป็นต้น นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดจ้ามาก ๆ โดยตรง ซึ่งส่งผลต่อผิวหนังทำให้เหี่ยวย่นได้ง่าย
          การรับประทานอาหาร เป็นอีกส่วนสำคัญ โดยเฉพาะ ผัก ผลไม้ ที่มีวิตามินซี วิตามินอี ซึ่งจะช่วยปกป้องดูแลสุขภาพผิวได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยซ่อมแซมฟื้นฟูผิวหนังที่แห้งกร้านกลับมาชุ่มชื่น, ธัญพืชต่าง ๆ ก็มีส่วนสำคัญช่วยบำรุงดูแลสุขภาพผิวพรรณ นอกจากนี้ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา น้ำมันมะกอก ฯลฯ ยังช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื่นยิ่งขึ้น และที่ต้องให้ความสำคัญคือการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เป็นต้น
          คุณหมอนันทวุฒิ แนะนำทิ้งท้ายอีกว่า Princess Club อาการผื่นคัน ในภาพรวมอาจเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่ปัญหาดังกล่าวหากไม่ได้รับการดูแล เข้าถึงการรักษาที่ถูกต้อง ก็อาจลุกลามนำไปสู่โรคอื่น ๆ ได้ การดูแลสุขภาพตนเอง สังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ต้องไม่ละเลย.